ในกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ น้ำตาลมะพร้าวเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจมากกว่าน้ำตาลทรายขาว เนื่องด้วยปริมาณฟรักโทสและค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำ อีกทั้งยังมีแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระที่มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลทรายขาวโดยทั่วไป ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้น้ำตาลมะพร้าวเหนือกว่าสารให้ความหวานอื่นๆ คือ กระบวนการผลิตที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นหรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และไม่มีส่วนผสมเทียมหรือสารสังเคาระห์ใดๆ น้ำตาลมะพร้าวเป็นน้ำตาลใสที่มาจากงวงของต้นมะพร้าว ผ่านกระบวนการเคี่ยว กรอง บด และอบ ซึ่งให้รสชาติเหมือน้ำตาลทรายแดงที่จับตัวเป็นก้อนผสมคาราเมลเล็กน้อย ปัจจุบันถูกใช้อย่างแพร่หลายแทนสารให้ความหวานต่างๆในการปรุงอาหารทั้งคาวและหวาน
1. ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
ดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) คือ ค่าที่มีเฉพาะในสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเท่านั้น เป็นค่าที่ใช้บ่งบอกว่า อาหารที่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเตรดต่างๆ มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดได้รวดเร็วเพียงใดภายใน 2-3 ชั่วโมง Meher Rajput ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพและนักโภชนาการของ FitPass กล่าวว่า “น้ำตาลมะพร้าว มีค่าดัชนีน้ำตาลเพียง 35 เมื่อเทียบกับน้ำตาลปกติ ซึ่งอยู่ระหว่าง 60 – 65” อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงอาจทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นอย่างกระทันหัน และส่งผลต่อระดับอินซูลินในร่างกาย ซึ่งน้ำตาลมะพร้าวมีเส้นใยที่ช่วยชะลอการดูดซึมกลูโคสอยู่อีกด้วย
2. มีสารอาหารค่อนข้างสูง
น้ำตาลมะพร้าว 1ช้อนชา มีแคลอรี่ประมาณ 16 แคลอรี่ และ คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม พร้อมสารต้านอนุมูลอิสระ เหล็ก แคลเซียม และโพแทสเซียมที่สูง ในขณะที่น้ำตาลทรายขาวปกติมีเพียงสิ่งที่เรียกว่า ‘แคลอรี่ว่าง’ ซึ่งไม่มีสารอาหารใดๆอีกเลย
3. กระบวนการผลิตที่ไม่ผ่านการกลั่น
กระบวนการผลิตที่ไม่ผ่านการกลั่นและการบำบัดใดๆทำให้น้ำตาลมะพร้าวเป็นหนึ่งในสารให้ความหวานบริสุทธิ์ส่งตรงจากธรรมชาติมากที่สุด
4. ปริมาณฟรักโทสต่ำ
น้ำตาลมะพร้าวมีซูโครส 70-75 เปอร์เซนต์ และ ฟรักโทส ประมาณ 20-30 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายขาวซึ่งมีทั้งปริมาณซุโครสและฟรักโทสที่สูงกว่า (ตับทำหน้าที่เปลี่ยนฟรักโทสเป็นกลูโคส เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้งานได้ แต่ฟรักโตสในปริมาณมากจะกลายเป็นคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นกัน)
5. อิเล็กทรอไลท์ที่ดีขึ้น
น้ำตาลมะพร้าวมีคุณสมบัติในการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย อันเนื่องมาจากปริมาณโพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียมที่สูง (โพแทสเซียมในน้ำตาลมะพร้าวมีมากกว่าน้ำตาลทรายขาวถึง 400 เท่า)
6. ดีต่อลำไส้
เส้นใยดาวในน้ำตาลมะพร้าว มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของ Bifidobacteria (แบคทีเรียชนิดหนึ่งในลำไส้ที่ทำหน้าที่ผลิตไทอามีน ไรโบฟลาวิน วิตามินบี6 และวิตามินเค) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าช่วยฟื้นฟูแบคทีเรียที่ดีในลำไส้และยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย
น้ำตาลมะพร้าวอาจมีราคาแพงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับน้ำตาลทั่วไป บางแบรนด์อาจจะผสมน้ำตาลอ้อยลงไปเพื่อทำให้ราคาถูกลง ดังนั้นเพื่อให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากน้ำตาลมะพร้าว ควรอ่านฉลากให้ละเอียดก่อนซื้อสินค้าเพื่อให้มันใจว่าคุณจะได้น้ำตาลมะพร้าวแท้ๆกลับไปบริโภคตามที่ตั้งใจ